กิโมโน – kimono 「着物」

Posted In: Trends

kimono1you30040736p1

kimono2

kimonos from 1938

กิโมโน (「着物」, kimono, – คิโมะโนะ)

ชุดกิโมโน
       ดูเหมือนว่าชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นประเทศใด จะทึ่งสตรีญี่ปุ่นที่ใส่ชุด กิโมโน กันมากหรือแม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้แตกต่างกันนัก ทั้งนี้เป็นเพราะชาวญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่จะแต่งกายแบบสากล ผู้ที่สวมกิโมโนในชีวิตประจำวันก็จะมีเพียงผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับศิลปะญี่ปุ่นแต่โบราณเท่านั้น หรือไม่ก็อาจจะสวมเฉพาะในงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานฉลองการบรรลุนิติภาวะ งานปีใหม่ ฯลฯ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ผู้ที่สามารถสวมชุดกิโมโนได้เองจึงมีน้อย ถึงขนาดจัดเป็นคุณสมบัติข้อหนึ่งของ “การเตรียมตัวเพื่อเป็นเจ้าสาว” ของสตรี

     กิโมโนประกอบด้วยเสื้อนางางิ (長着) ซึ่งมีลักษณะเป็นคลุมขนาดยาวที่มีแขนเสื้อที่มีความกว้างมาก และสายโอบิ(帯)ซึ่งใช้รัดเสื้อคลุมนี้ให้อยู่คงที่ ชุดกิโมโนทั้งของหญิงและชายเมื่อใส่แล้วจะพรางรูปของผู้สวมใส่ไม่ให้เห็นสัดส่วนที่แท้จริง ชุดกิโมโนของผู้หญิงโสดเป็นกิโมโนแขนยาว ลวดลายที่นิยมคือลายดอกซากุระ กิโมโนของผู้หญิงแต่งงานแล้วจะเป็นกิโมโนแขนสั้นสีไม่ฉูดฉาดมาก

ประวัติชุดกิโมโน

       กิโมโน หรือชุดแต่งกายของชาวอาทิตย์อุทัย มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยเฮอันหรือตรงกับค.ศ.794-1192 หรือพ.ศ.1337-1735 ก่อนหน้านั้น ซึ่งเป็นสมัยนารา (ค.ศ.710-794) ชาวญี่ปุ่นนิยมแต่งชุดท่อนบนกับท่อนล่างเหมือนกันหรือไม่ก็เป็นผ้าชิ้นเดียวกันไปเลย

      พอมาถึงสมัยเฮอันซึ่งถือเป็นช่วงเริ่มต้นการใส่กิโมโนชาวญี่ปุ่นพัฒนาเทคนิคการตัดชุดเสื้อผ้าด้วยการตัดผ้าเป็นเส้นตรง เพื่อให้ง่ายต่อมาสวมใส่ หยิบมาคลุมตัวได้ทันที ทั้งยังเป็นชุดที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ ถ้าหนาวๆใช้ผ้าหนา ถ้าเป็นฤดูร้อนก็เปลี่ยนไปใช้ผ้าบางๆ  ความสะดวกสบายนี้ทำให้ชุดกิโมโนแพร่หลายไปอย่างรวดเร็วโดยในวงการแฟชั่นสมัยนั้นผู้ตัดเย็บก็จะคิดหาวิธีที่ทำให้ชุดกิโมโนมีสีสัน ผสมผสนานกันด้วยสีต่างๆ ให้เหมาะกับสภาพอากาศและชนชั้นทางสังคม ถือว่าเป็นช่วงที่ชุดพัฒนาในเรื่อง “สี” มากที่สุด

     ในยุคคามาคุระ (ค.ศ.1192-1338) และยุคโรมาจิ (ค.ศ.1338-1573) ทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะนิยมใส่ชุดกิโมโนที่สีสันแสบทรวง ยิ่งเป็นนักรบจะต้องยิ่งใส่ชุดที่สีฉูดฉาดมากๆเพื่อแสดงถึงความเป็นผู้นำบางครั้งเรียกว่าไปแข่งแฟชั่นกันในสนามรบกันเลยทีเดียว

     ต่อมาในยุคเอโดะ (ค.ศ.1600-1868) ช่วงที่โชกุนโตกูกาวาปกครองญี่ปุ่น โดยให้ขุนนางไปปกครองตามแคว้นต่างๆ นั้นในช่วงนี้นักรบซามูไรแต่ละสำนักจะแต่งตัวแบ่งแยกตามกลุ่มของตัวเอง เรียกว่าเป็น “ชุดเครื่องแบบ” เลยด้วยซ้ำ

     ชุดที่ใส่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ชุดกิโมโน ชุดคามิชิโม ตัดเย็บด้วยผ้าลินินใส่คลุมชุดกิโมโนเพื่อให้ไหล่ดูตั้งและกางเกงขายาวที่ดูเหมือนกระโปรงแยกชิ้น ชุดกิโมโนของซามูไรจำเป็นต้องเนี้ยบมาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่พัฒนากิโมโนไปอีกขั้น จนเป็นผลงานศิลปะชิ้นหนึ่ง

     สมัยต่อมาในยุคเมจิ (ค.ศ.1868-1912) ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากต่างชาติรุนแรงมาก ชาวแดนปลาดิบจึงเริ่มเปลี่ยนไปใส่เสื้อสากลมากขึ้น และจะใส่ชุดกิโมโนเมื่อถึงงานที่เป็นพิธีการ

200px-wedding_kimono

 A traditional wedding kimono

200px-uchikake

A traditional red
Uchikake kimono with cranes

 

 

 

       kimono กับ yukata แตกต่างกันอย่างไร ?
kimono มีหลายชั้นเวลาใส่ต้องมีความชำนาญ เนื้อผ้าทำจากผ้าไหมราคาแพง ส่วน yukata ส่วนใหญ่ทำจากผ้าฝ้าย และสามารถสวมใส่ได้ในฤดูร้อนมักใช้ในงานเทศกาล มาดูเครื่องแต่งกายแบบญี่ปุ่น

kimono01s
kimono
shiromaku03s
shiro maku
uchikake02s
uchikake
obis
obi
yukata03s
yukata
nagajugan01s
nagajugan
gi01s
gi
hakama05s
hakama
haori03s
haori
michiyuki02s
michiyuki
samue01ssamue02s
samue
getas
geta

ส่วนประกอบของกิโมโน

kimono

yuki – แขนเสื้อ doura – ซับในส่วนบน sodetsuke – แนวตะช่องแขนเสื้อ
ushiromigoro – เส้นแบ่งส่วนหลัง fuki – ชายกิโมโน sode – แขนเสื้อ
uraeri – ปกเสื้อด้านใน okumi – แผ่นคอเสื้อด้านหน้า miyatsukuchi – ช่องเปิดใต้แขน
furi – ชายใต้แขนเสื้อ tomoeri – ปกเสื้อ eri – ปกเสื้อ
susomawashi – ตะเข็บ maemigoro – สาบเสื้อด้านหน้า tamoto – โพลงใต้แขนเสื้อ

 

Nagajugan – ชุดชั้นในสำหรับกิโมโน ใช้สวมใต้กิโมโน ส่วนใหญ่จะเป็นสีขาวเนื้อผ้าบางเบา

nagajugan01nagajugan02

Uchikake – ใช้สวมทับกิโมโนเมื่อต้องทำพิธีรีตองอย่างเป็นทางการ เช่น พิธีแต่งงาน เป็นต้น

uchikake05uchikake02uchikake03

uchikake06uchikake04shiromaku04

Shiro-maku – (shiro = ขาว , maku = บริสุทธิ์) กิโมโนสำหรับใส่ในงานแต่งงาน

shiromaku02shiromaku01shiromaku031

        เมื่อพูดถึงเครื่องนุ่งห่มของชาวญี่ปุ่น หลายคนต้องนึกถึงชุด กิโมโน (KI MONO) แต่ชาวญี่ปุ่นจะสวมชุดกิโมโน ในโอกาสสำคัญบางโอกาส คือ พิธีบรรลุนิติภาวะ, งานแต่งงาน และพิธีเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา เท่านั้น นอกจากนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงที่นิยมใส่กิโมโนไปในพิธี แต่โดยทั่วไปแล้วมักใส่ชุดเช่นเดียวกับชาวยุโรปทั่วไป ซึ่งชุดต่าง ๆ เหล่านี้ ถูกนำเข้าที่ญี่ปุ่นตั้งแต่ยุคสมัยเมจิ (MEIJI ERAS) นับจากนั้นมาเสื้อผ้าแบบฝรั่งกลับเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นมากกว่ากิโมโน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่วัยรุ่น ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง จะนิยมใส่ยีนส์กันมาก กิโมโน ถือว่าเป็นชุดญี่ปุ่น (WAFUKU) เป็นเสื้อผ้าที่ตัดเป็นเส้นตรงเย็บจากผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าไม่ว่าจะเป็นคนสูง – เตี้ย – อ้วน – ผอม สามารถใส่ชุดกิโมโนได้สบายได้สบาย ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นข้อดีของกิโมโนเพราะตัดเพียงขนาดเดียวสามารถนำมาใส่ได้หมาะสมกับรูปร่างคนใส่ได้ทั้งหมด

ชุดกิโมโนอาจมีกำเนิดมาเช่นเดียวกับ ผ้า FUROSHIKI ซึ่งนำมาใช้ห่อของ แต่กลับนำมาห่อหุ้มร่างกาย แต่ชุดกิโมโนชุดใหญ่ที่นำมาใส่ในพิธีสำคัญ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีบรรลุนิติภาวะ เป็นชุดที่มีราคาแพงมากบางชุดมีมูลค่าสูงเป็นหลายล้านเยนทีเดียว ดังนั้นการเลือกสีและลายจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก เนื่องจากว่าต้องสามารถนำชุดที่มีราคาแพงมาใส่ได้แม้ว่าเวลาผ่านไปหลายปี และผู้ใส่มีอายุสูงขึ้นแล้วก็ตาม แต่ปัจจุบันนี้กิโมโนแทบจะไม่มีผู้ใส่แล้วเนื่องจากใส่ยาก, ใส่แล้วอึดอัด ต้องคอยระมัดระวังไม่สามารถทำตัวตามสบายได้ รวมถึงราคาสูงมาก เป็นต้น แต่ชุดกิโมโนที่ยังมีอยู่นิยมใส่อยู่คือ ชุด YUKATA

ชุด YUKATA เป็นชุดกิโมโนประเภทหนึ่งทำด้วยผ้าฝ้ายสำหรับใส่ในฤดูร้อน เมื่อเทียบกับชุดกิโมโนอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ตัดเป็นผ้าไหมแล้ว ชุดยูกาตะมีราคาถูกสามารถซักทำความสะอาดได้ง่าย จึงมีผู้นิยมใส่กันอยู่ โดยเฉพาะเด็ก ๆ แทบจะทุกคนเคยสวมชุดยูกาตะ รำวงญี่ปุ่นที่เรียกว่า “BON ODORI” ในตอนสวมชุดกิโมโน ต้องสวมถุงเท้าที่เรียกว่า “ZORI” และรองเท้าเกี๊ยะ ที่เรียก “GETA” “สวมใส่ยูกาตะต้องสวม GETA” ในอดีตจนถึงราวทศวรรษที่ 1950 ชาวญี่ปุ่นสวมรองเท้าเกี๊ยะกับเสื้อผ้าทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาแม้ในเมืองจะพบเห็นร้านขายรองเท้าเกี๊ยะ และมีคนขายนั่งทำรองเท้าเกี๊ยะอยู่ในร้านด้วยแต่ในปัจจุบันนี้ร้านรองเท้าเกี๊ยะแทบจะไม่ได้พบเห็นหลังจากวัฒนธรรมจากตะวันตกเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ได้เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่นให้หายไปทีละน้อย จนแทบจะไม่สามารถพบเห็นกันได้ง่าย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่หน้าเสียดายมาก

Yukata – กิโมโนสำหรับใส่ในฤดูร้อน หรือใส่ลำลอง

yukata

โอบิ, รองท้อง (geta) , ถุงเท้า

ass

       Haori เสื้อแจ็คเก็ตสำหรับสวมทับกิโมโน ใส่ได้ทั้งชายและหญิง มักจะสวมเมื่อต้องออกไปข้างนอก เนื่องจากกิโมโนราคาแพงจึงต้องสวม Haori เพื่อป้องกันกิโมโนเปื้อน สาบเสื้อด้านหน้าจะไม่ผูกให้ชนกัน แต่จะมีเชือกสำหรับผูกอยู่ด้านหน้า

Haori – เสื้อแจ็คเก็ต สำหรับสวมทับกิโมโน

ha

Michiyuki – เป็นเสื้อสำหรับสวมด้านนอกเช่นกัน ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับ Haori จะแตกต่างกันตรงคอเสื้อจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม

mic

gi – เสื้อที่ใส่คู่กับ hakama สำหรับผู้ชาย gi นั้นใช้สวมเป็นเสื้อเมื่อเล่นกีฬาต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น kendo, judo, ยิงธนู, akido เป็นต้น

gi

Hakama – กางเกง สามารถใส่ได้ทั้งหญิงและชาย ใช้สวมใส่ลำลอง หรือพิธีการ
หรือแม้แต่ใช้ในการแข่งขันกีฬาไม่ว่าจะเป็น kendo, ยิงธนู ฯลฯ

hakama

Samugi (Samue) เป็นเครื่องแต่งกายที่ทำจากผ้าฝ้าย สวมใส่สบาย ใช้สวมใส่ขณะทำงานที่อาจจะต้องมีเหงื่อ เช่น งานเสิร์ฟอาหาร, ทำสวน, ออกกำลังกาย หรือบางคนก็ใส่อยู่บ้านก็ได้ ในสมัยก่อนเป็นเครื่องแต่งการของพระแต่ปัจจุบันนิยมสวมใส่ในคนทั่วไป

samugi

วิวัฒนาการของชุดกิโมโน
ชุดกิโมโน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ชุดยาว (เหมือนชุดติดกันผ่าหน้าในปัจจุบันแล้วเอามาทบกันที่ด้านหน้าและผูกด้วยผ้าคาดเอวที่เรียกว่า โอะบิ) ยกเว้นพวกเสื้อคลุม หรือเสื้อโค๊ต ลักษณะชุดยาวดังกล่าวถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยนะระ และใช้เป็นชุดชั้นในมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงสมัยเฮอัน หลังจากนั้นได้มีการนำมาสวมใส่เป็นชุดภายนอกให้เข้ากับกางเกงที่เรียกว่า ฮะคะมะ และถูกดัดแปลงให้ง่ายขึ้น เหมือนกับชุดกิโมโนในปัจจุบัน สวมใส่กันทั้งหญิงและชายในสมัยมุโระมะฉิ เมื่อมาถึงสมัยเอะโดะได้มีการนำชุดกิโมโนไปสัมพันธ์กับการแสดงฐานะทางชนชั้นในระบบขุนนาง ชุดกิโมโนจึงเริ่มมีข้อบังคับที่หลากหลายขึ้นโดยเฉพาะผู้ชาย ตัวอย่างเช่น ชุดกิโมโนผ้าขาวเรียบอนุญาตให้ใส่ได้เฉพาะบุตรชายคนโตของไดเมียวที่เกิดกับภรรยาหลวงเท่านั้น และทหารทั่วไปห้ามใส่ชุดกิโมโนผ้าไหม ( ผ้าซาติน ) ส่วนชาวบ้านจะใส่ผ้าป่านหรือผ้าฝ้าย แต่เมื่อคนทั่วไปมีฐานะร่ำรวยขึ้น ความอิสระในการแต่งกายก็เริ่มมีมากขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยเอะโดะเป็นต้นมา เมื่อเข้าสมัยเมจิการแต่งกายแบบสากลก็เริ่มแพร่หลายจากเชื้อพระวงศ์ไปสู่ทหาร ข้าราชการ และเหล่านักศึกษาตามลำดับ และในที่สุดก็แพร่หลายกันโดยทั่วไป

การแพร่หลายของชุดสากล
ขณะที่การแต่งชุดกิโมโนของบุรุษผูกพันธ์กับระบบชนชั้น ในทางตรงกันข้ามกลับไม่มีข้อบังคับที่เข้มงวดมากนักกับการแต่งกิโมโนของสตรี กล่าวคือ มีข้อกำหนดเพียงว่าชุดกิโมโนแขนยาวที่เรียกว่า ฟุริโสะเดะ สำหรับหญิงสาวที่ยังโสดอยู่ใส่ และเมื่อแต่งงานแล้วให้เปลี่ยนเป็นชุดกิโมโนแบบแขนสั้น ด้วยเหตุนี้การแต่งกายด้วยชุดกิโมโนชีวิตประจำวันของสตรีจึงมีมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงสมัยไทโช แต่เมื่อเข้าสู่สมัยโชวะที่สตรีมีบทบาทในสังคมมากขึ้น การแต่งกายแบบสากลก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ประวัติศาสตร์การแต่งกายแบบตะวันตกของชาวญี่ปุ่น แม้กระทั่งการแต่งกายของบุรุษจึงสั้นมากเพียง 1 ศตวรรษกว่าเท่านั้น ในปัจจุบันการแต่งกายแบบสากลเป็นที่นิยมกันโดยทั่วไป ถึงขนาดสตรีสามารถแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของนักออกแบบเสื้อระดับโลกได้โดยไม่แปลกแต่อย่างใด งานแสดงแฟชั่นก็เช่นเดียวกัน เวทีแสดงแฟชั่นได้ค่อย ๆ ย้ายจากปารีส นิวยอร์คเข้ามากรุงโตเกียว นักออกแบบเสื้อของชาวญี่ปุ่นเองไม่ว่าจะเป็นโมะริ ฮะนะเอะ, มิยะเขะ อิสเซ, ยะมะโมะโตะ คันไซ, ทะคะดะ เค็นไซ และยะมะโมะโตะ โยจิ ล้วนแต่มีบทบาทในแฟชั่นระดับโลกอย่างมาก 

200px-viewsandcostumesofjapan

 Japanese woman in a kimono,  1870

ชาวญี่ปุ่นในชุดประจำชาติกิโมโนในสมัยก่อน

 kimono22

kimono15

kimono14

kimono13

kimono12

kimono11

kimono10

kimono9

kimono8

kimono7

kimono6

 kimono121

 kimono5

kimono4

kimono3

แหล่งที่มา :

siamkane
en.wikipedia
th.wikipedia.org
japankiku

Domus Intersections
Fashion design – Japan Next Generation