กราฟฟิตี้ อาร์ต
Graffiti Art
กลางคริสต์ทศวรรษ1970-กลาง 1980
กราฟฟิโต้ (Graffito) ในอิตาลีหมายถึง ขูดขีด ส่วน Graffiti (พหูพจน์) คือ การวาดเส้นหรือภาพที่ขูดขีดบนผนัง ข้อความจำพวก “Kilroy was here.” หรือ “กูเคยมาแล้ว” สามารถสืบกลับไปในยุคอียิปต์โบราณ
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ศิลปินเริ่มสนใจนำมาเป็นหัวข้อ เช่น ไซ ทวอม บลี (Cy Twombly) และ แจ็คสัน พ็อลล็อค (Jackson Pollock) ต่างสนใจ
“ภาพ” ของมัน ศิลปินฝรั่งเศส อย่าง ชอง ดุบเบฟเฟ็ท (Jean Dubbeffet) สนใจที่มันหมายถึง ศิลปะของคนนอก (outsider art) และศิลปินชาวสเปนเช่น แอนโทนี ทาปีส์ (Antoni Tapies) ก็สนใจที่สามารถนำมันมาร่วมในภาพเขียนของเขาได้
ระหว่างต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 สีสเปรย์กระป๋องกลายเป็นของธรรมดาหาได้ง่าย รถไฟใต้ดินในนิวยอร์คกลายเป็นพื้นที่สำหรับเขียน กราฟฟิตี้ สีต่างๆ “แท็กส์” (Tags) คือชื่อเรียกคนเขียน กราฟฟิตี้ โดยภาพและคำส่วนมากจะออกเป็นแนวการ์ตูน คนเขียน กราฟฟิตี้ โดยมากไม่ใช่ทั้งศิลปินมืออาชีพและนักเรียนศิลปะ หากแต่เป็นพวกวัยรุ่นตามท้องถนนจากบรองซ์ (Bronx) และบรุคลิน (Brooklyn)
มีพวกเด่นๆที่ได้ย้ายจากถนนเข้าสู่แกลเลอรี เช่น นิทรรศการ The United Graffiti Artists?1975 นิทรรศการที่ New York?s Artist Space: Fab Five Freddy เป็นงานภาพสีสเปรย์อุทิศให้กับกระป๋องซุปของ แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) ในปี 1980 และงานไทม์ สแควร์ โชว์ (Times Square Show) ในปี 1980 เรียกความสนใจจากวงการศิลปะในนิวยอร์คได้ การสนับสนุนในรูปของการจัดนิทรรศการจึงดำเนินต่อไปได้ด้วยการสนับสนุนจากแฟชัน โมดา (Fashion Moda) และอัลเทอร์เนทีฟ สเปซ (Alternative Space) ในบรองซ์ และมีการพัฒนารูปแบบที่น่าสนใจมากขึ้นโดยศิลปินที่ฝึกฝนมาทางศิลปะอย่างดีอย่าง คีธ แฮริง (Keith Haring)
ปี 1983 มีงานนิทรรศการหลักๆครั้งแรกที่ Boymans-van Beuningen Museum ในรอทเทอร์ดัม (Rotterdam) และ “Post-Graffiti” นิทรรศการที่ ซิดนีย์ แจนิส (Sidney Janis) ในฮู-ชิพ แกลเลอรี (Hue-Chip Gallery) ของเขา
ความนิยมของ กราฟฟิตี้ ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับสุนทรียภาพแบบไม่ธรรมดาและโซชีโอโลจิคอล อิมพอร์ท (sociological import) เช่น คำถามที่ว่า กราฟฟิตี้ คือ ลัทธิความป่าเถื่อนหรือเป็นโฟล์ค อาร์ต (folk art) ในเมือง นักเขียนอย่าง นอร์แมน เมลเลอร์ (Norman Mailer) ทำให้ตื่นเต้นว่า กราฟฟิตี้ เป็นถ้อยแถลงแห่งขบถต่อเสรีภาพของสังคม ในขณะที่นักวิจารณ์อย่าง ซูซี เกบลิค (Suzi Gablik) โจมตีว่าพวกเด็กเหล่านี้โดนพวกนักการตลาดทางศิลปะเอาเปรียบกอบโกยผลประโยชน์
กราฟฟิตี้ ย้ายเข้าแกลเลอรีจนถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ก็เสื่อมความนิยม เช่นเดียวกับบรรดาแฟชัน กราฟฟิตี้ ที่ถูกนำเข้าจากท้องถนนและทำให้เป็นการค้าซึ่งถูกผลักออกไปอย่างรวดเร็ว
ศิลปิน: แครช (Crash), เดซ ดอนดี (Daze Dondi), แฟบ ไฟว์ เฟรดดี้ (Fab Five Freddy) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เฟรดดี้ บราทเวท (Freddy Brathwaite), ฟูตูรา 2000 (Futura 2000), คีธ แฮริง (Keith Haring), เลดี้ พิงค์ (Lady Pink), ลี ควินโนนส์ (Lee Quinones),
ราแมลซี (Ramellzee), ชอง-มิเชล บาสเกียท์ (Jean-Michel Basquiat), อเล็กซ์ วาโลวรี (Alex Vallauri), Zephyr (aka Andrew Witten)